เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของพระองค์ด้วยโลกุตรธรรม 9
ประการ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะ
ว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ เป็นต้น ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่
กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล แต่พึงประกอบความอย่างเดียวอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้า
พระองค์นั้นได้ตรัสรู้โลกุตรธรรมอันประเสริฐได้ด้วย ได้ประทานโลกุตรธรรม
ได้ด้วย ทรงนำมาซึ่งโลกุตรธรรมได้ด้วย ทรงแสดงโลกุตรธรรมได้ด้วย แม้
อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล
ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.

พรรณนาคาถาว่า ขีณํ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยปริยัตติธรรมและโลกุตรธรรมแล้วตรัส
สัจจวจนะ มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้ง ด้วย 2 คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัย
คุณคือการบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน ของพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งได้สดับปริยัตติ
ธรรมนั้น และปฏิบัติตามแนวที่ได้สดับมาแล้ว ได้บรรลุโลกุตรธรรมทั้ง 9
ประการ จึงทรงเริ่มตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้งอีกว่า ขีณํ ปุราณํ.
ในสัจจวจนะนั้น บทว่า ขีณํ ได้แก่ ตัดขาด. บทว่า ปุราณํ แปลว่า
เก่า. บทว่า นวํ ได้แก่ ในบัดนี้ ที่กำลังเป็นไป คือปัจจุบัน. บทว่า
นตฺถิ สมฺภวํ ได้แก่ ความปรากฏ [เกิด] ไม่มี. บทว่า วิรตฺตจิตฺตา
ได้แก่ มีจิตปราศจากราคะ. บทว่า อายติเก ภวสฺมึ ได้แก่ ในภพใหม่
ในอนาคตกาล. บทว่า เต ได้แก่ ภิกษุขีณาสพที่สิ้นกรรมภพเก่า ไม่มี
กรรมภพใหม่ แสะมีจิตปราศจากกำหนัดในภพต่อไป. บทว่า ขีณพีชา
ได้แก่ ผู้มีพืชถูกถอนแล้ว. บทว่า อวิรุฬฺหิฉนฺทา ได้แก่ ผู้เว้นจากฉันทะ
ที่งอกได้. บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ สิ้นไป. บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้ถึง